วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างค่านิยม 12 ประการ (ข้อที่ 2 เรื่อง ซื่อสัตย์)

                ความซื่อสัตย์  หมายถึง  การประพฤติตรงและจริงใจ  ไม่คิดคตทรยศ  ไม่คตโกง  ไม่หลอกลวง

                ความซื่อสัตย์  เป็นคุณลักษณะที่ช่วยให้เป็นที่ยอมรับนับถือและไว้วางใจ  เป็นที่น่าคบหาสมาคมด้วย  ถ้าขาดความซื่อสัตย์ก็จะกลายเป็นคนที่ไม่น่าคบหาสมาคม  เป็นที่ระแวงแคลงใจของเพื่อนและบุคคลใกล้ชิด  โดยปกติแล้วผู้ที่ปฏิบัติตนด้วยความซื่อสัตย์จะมีความเจริญก้าวหน้าทั้งด้านส่วนตัว  การประกอบอาชีพ  การสังคม  ดังนั้นนักเรียนควรปฏิบัติตนให้เป็นคนที่มีความซื่อสัตย์อยู่เสมอ

                ตัวอย่างเช่น...




    2.  จ่ายเงินทุกครั้งเมื่อซื้อสิ่งของ  ขึ้นรถประจำทางหรือโดยสารยานพาหนะอื่น ๆ  หรือใช้บริการอื่น ๆ  ที่ต้องเสียเงินค่าบริการ


    3.  เก็บของตกได้  ติดตามหาเจ้าของและคืนของให้

Cr. http://sukjuhong.wordpress.com/2011/10/28/ความซื่อสัตย์-2/

ค่านิยม 12 ประการ

ตามนโยบายของ คสช.


  1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 
  2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม 
  3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ 
  4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม 
  5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม 
  6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน 
  7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง 
  8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่ 
  9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
  10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี 
  11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา 
  12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
Cr. http://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=9097

สอนวิธีทำรถวิ่ง ล้อหมุน Flash

สอน Flash Animation คนเดิน

สอนทำการ์ตูน Flash ง่ายๆ Pt1

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิธีใช้ Adobe flash CS3 เบื้องต้น

                 การสร้างสื่อการเรียนรู้ สื่อนำเสนอ หรืองานออกแบบต่างๆ ย่อมจะหนีไม่พ้นการออกแบบสร้างสรรค์งานกราฟิก หากสามารถสร้างงาน ออกแบบงานกราฟิกด้วยตนเอง คงจะสร้างความภูมิใจได้มาก แต่ปัญหาใหญ่ของการสร้างสรรค์งานกราฟิกของหลายๆ ท่านก็คือ “วาดภาพไม่เป็น”หรือ “สร้างผลงานไม่ได้” แต่ด้วยความสามารถของโปรแกรม Macromedia Flash เครื่องมือช่วยสร้างสรรค์งากราฟิกที่ง่ายในการเรียนรู้และประยุกต์ใช้งาน พร้อมๆกับแนวทางการวาดภาพจากคู่มือฉบับนี้ จะลืมคำว่า “วาดยาก” ไปเลย เนื่องจาก Flash เป็นซอฟต์แวร์สร้างสรรค์งานกราฟิกในฟอร์แมต Vector ที่ภาพกราฟิกทุกภาพประกอบจากเส้นโครงร่างที่ทำให้การปรับแต่ง แก้ไข หรือออกแบบภาพ ทำได้ง่ายด้วยเทคนิค “ตัด เชื่อม ปรับเปลี่ยนรูปร่าง”

                 Macromedia Flash CS3 เป็นผลิตภัณฑ์ล่าสุดจากค่าย Macromedia ที่พัฒนามาเพื่อสนับสนุนการสร้างงานกราฟิก ทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว สำหรับการนำเสนอผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต Flash มีฟังก์ชันช่วยอำนวยความสะดวก ในการสร้างผลงานหลากหลายรูปแบบตลอดจนชุดคำสั่งโปรแกรมมิ่งที่เรียกว่า Flash Action Script ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และสามารถคอมไพล์ (Compile) เป็นโปรแกรมใช้งาน (Application Program) เช่น การทำเป็น e-Cardเพื่อแนบไปพร้อมกับ e-Mail ในโอกาสต่างๆ

การเรียกใช้งานโปรแกรม Flash
                 มีหลักการคล้ายๆ กับการเรียกโปรแกรมทั่วๆ ไปของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ โดยเริ่มจากการคลิกปุ่ม Start จากนั้นเลื่อนไปคลิกที่รายการ Program, Adobe Flash CS3 Professional รอสักครู่จะปรากฏหน้าต่างการทำงาน ซึ่งมีโหมดการทำงานให้เลือกได้หลายลักษณะได้แก่• การเปิดไฟล์จากคำสั่ง Open a Recent Item
• การสร้างงานผลงานจากรายการ Create New
• การสร้างผลงานแม่แบบ Create from Template

จอภาพการทำงานของ Flash

คลิกเพื่อดูภาพขยาย

                เมื่อคลิกเลือกการสร้างผลงานใหม่ของ Flash จากรายการ Create New Flash File จะปรากฏส่วนประกอบจอภาพการทำงานดังนี้

คลิกเพื่อดูภาพขยาย

แถบเครื่องมือหลัก (Main Toolbar)
                 แถบเครื่องมือควบคุมการทำงานหลักของโปรแกรม เช่น การสร้างไฟล์ใหม่, การเปิดไฟล์, การคัดลอกข้อมูลเป็นต้น โดยสามารถควบคุมให้แสดง หรือไม่ต้องแสดงโดยคลิกเลือกคำสั่ง Window, Toolbars, Main

คลิกเพื่อดูภาพขยาย

แถบเครื่องมือ (Toolbox)
                 กลุ่มเครื่องมือสร้างงานและจัดการวัตถุ ประกอบด้วยปุ่มเครื่องมือย่อยต่างๆ สามารถเปิด/ปิดด้วยคำสั่ง Window, Tools โดยสามารถแบ่งเครื่องมือเป็นหมวดๆ ได้ 5 หมวด คือ เครื่องมือหมวดเลือกวัตถุ (Selection) เครื่องมือหมวดวาดภาพ (Drawing) เครื่องมือจัดแต่งวัตถุ (Modify) เครื่องมือควบคุมมุมมอง (View) และเครื่องมือควบคุมสี (Color)


Document Tab
                 ส่วนควบคุมเอกสาร สามารถคลิกเพื่อสลับเปลี่ยนจอภาพเอกสาร

Document Tab

Timeline & Layer
                 Timeline : เป็นส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่ควบคุมการนำเสนอผลงาน สามารถเปิด/ปิดด้วยคำสั่ง Window, Timeline

คลิกเพื่อดูภาพขยาย

                 Layer : ส่วนควบคุมการสร้างชั้นวัตถุ เพื่อให้การควบคุมวัตถุแต่ละชิ้น มีอิสระ และสะดวกต่อการแก้ไข ปรับแต่ง

Layer

Stage & Workspace


Stage & Workspace

                 จากรูปตัวอย่างนี้ เมื่อสั่งนำเสนอผลงาน แสดงว่าจะกำหนดให้เรือยังไม่ต้องแสดงผลทันทีบนจอภาพ เพราะเรือถูกนำไปวางไว้ในพื้นที่สีเทา เมื่อนำมาทำเป็น Movie ให้เรือวิ่งผ่านจอภาพไปอีกด้านหนึ่ง ก็จะปรากฏเรือวิ่งผ่านจอจากด้านซ้ายไปด้านขวาของจอ ตามช่วงเวลาที่กำหนด

Panel 
                 หน้าต่างเล็กๆ ที่ทำหน้าที่แสดงคำสั่งควบคุมย่อยต่างๆ ของโปรแกรม โดยจะปรากฏรายการคำสั่งในเมนู Window

คลิกเพื่อดูภาพขยาย


ควบคุม Panel
                 Panel เป็นจอภาพเล็กๆ ที่แสดงฟังก์ชันการทำงานเฉพาะอย่าง เช่น การทำงานเกี่ยวกับสีจะควบคุมด้วย Color Mixer หรือ Color Swatches การจัดตำแหน่งวัตถุต่างๆ ควบคุมด้วย Align Panel เป็นต้น การเรียกใช้หรือเปิด/ปิด Panel จะใช้คำสั่ง Window แล้วตามด้วยชื่อ Panel นั้นๆ

ทำงานกับไฟล์ Flash
                 โปรแกรม Flash สามารถสร้างผลงานได้ทั้งภาพนิ่ง ที่เรียกว่า (Still Image) และ
ภาพเคลื่อนไหว ซึ่งจะเรียกว่า Movie ทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว จำเป็นต้องเริ่มต้นจากไฟล์
Flash ต้นฉบับ ที่มีส่วนขยายเป็น .fla จากนั้นจึงบันทึกเป็นไฟล์ภาพใช้งาน สำหรับภาพนิ่ง สามารถ
เลือกบันทึกได้หลายฟอร์แมต เช่น

Adobe Illustrator = .ai
GIF Image = .gif
Bitmap = .bmp
AutoCAD DXF Image = .dxf
Enhanced Metafile = .emf
EPS 3.0 = .eps
JPEG Image = .jpg
PICT = .pct
PNG Image = .png
Windows Metafile = .wmf

ภาพเคลื่อนไหว หรือ Flash Movie สามารถบันทึกในฟอร์แมตที่พร้อมใช้งาน ได้ดังนี้

Flash Movie = .swf
Animation GIF Image = .gif
QuickTime = .mov
Windows AVI = .avi
Execute File = .exe

สร้างไฟล์ใหม่
                 ไฟล์ Flash ที่สร้างใหม่ทุกครั้ง ควรกำหนดคุณสมบัติให้เหมาะสม ด้วยคำสั่ง Modify Document เช่น ความกว้าง/ความสูงของ Stage ลักษณะสีพื้นของ Stage เป็นต้น


เปิดไฟล์
                 การเปิดไฟล์ภาพใช้คำสั่ง File, Open... หรือคลิกปุ่ม Open จาก Main Toolbar นอกจากนี้ยังสามารถเลือกไฟล์ที่เคยเปิดได้จากเมนูคำสั่ง File, Open Recent

การคืนสู่สภาพเดิม (Revert)
                 ไฟล์ที่กำลังแก้ไข ถ้าต้องการคืนกลับสู่สภาพก่อนการแก้ไข ใช้คำสั่ง File, Revert

ปิดไฟล์
                 ไฟล์ที่สร้าง หรือเปิดอยู่ หากต้องการปิดไฟล์ สามารถใช้คำสั่ง File, Close หรือ File, Close
All ทั้งนี้ไฟล์ที่ยังไม่ได้ผ่านการบันทึก โปรแกรมจะแสดงกรอบเตือน ถ้าต้องการบันทึกไฟล์ก่อนปิด ก็คลิกปุ่ม Yes เพื่อเข้าสู่โหมดการบันทึกไฟล์ แต่ถ้าต้องการปิดไฟล์โดยไม่บันทึกก็คลิกปุ่ม No หรือคลิกปุ่ม Cancel เพื่อยกเลิกการปิดไฟล์ กลับสู่จอภาพสร้างงานตามปกติ

บันทึกไฟล์
                 ภาพที่วาดที่สร้างเสร็จแล้ว หรือปรับแต่งแก้ไขแล้ว ควรบันทึกไฟล์เก็บไว้ทุกครั้ง โดยไฟล์ต้นฉบับจะได้ส่วนขยายเป็น .fla การบันทึกไฟล์สามารถใช้คำสั่ง File, Save หรือ File, Save As จุดสังเกตว่าไฟล์ได้ผ่านการบันทึกแล้วหรือไม่ ก็ดูได้จากชื่อไฟล์ใน Title Bar หากมี
เครื่องหมาย * แสดงว่ายังไม่ผ่านการบันทึก

Cr.http://poohparis2.blogspot.com/2013/08/adobe-flash-cs3.html

วิธีโหลด Adobe Flash cs3